วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551

เชิญทุกท่านไปร่วมงานแถลงข่าว 10 สุดยอดธุรกิจนวัตกรรม

งานนี้คือ Top ten innovative business 2008

จัดโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม 2551 เวลา 13.30-15.00 น.

ณ ห้องกมลทิพย์ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ

477 ถ. ศรีอยุธยา พญาไท กรุงเทพฯ 10400 (สถานีรถไฟฟ้า BTS พญาไท)

วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551

แสดงความคิดเห็นในบล็อกได้แล้วนะครับ

ผู้ชมสามารถโพสต์แสดงความคิดเห็น ได้แล้วครับ
โดยให้คลิกเข้าไปที่บทความย่อย (ไม่ใช่หน้าแรก) ซึ่งเลือกได้ที่เมนูข้างขวา
และข้างล่างบทความก็จะสามารถแสดงความคิดเห็นได้ครับ

ง่ายๆ แค่นี้เองครับ
ส่วนรูปแบบของเว็บจะมีการปรับปรุงเรื่อยๆครับ

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ภาพข่าวจาก manager online

เปิดตัว "ไอ-โม" ยานยนต์สองล้ออัตโนมัติฝีมือคนไทย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

7 พฤศจิกายน 2551 07:44 น.


สนช. เปิดตัวพาหนะ 2 ล้อทรงตัวอัตโนมัติ พัฒนาขึ้นโดยฝีมือคนไทย ขนาดเล็กกระทัดรัด น้ำหนักเบา ขับขี่ง่าย ด้วยระบบควบคุมโดยสมองกลฝังตัวอัจฉริยะ คล่องตัวแม้ในสถานที่คับแคบ ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี ไม่ก่อมลภาวะกับสิ่งแวดล้อม และราคาถูกกว่านำเข้าหลายเท่าตัว

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และบริษัท ไอ-โมบิลิตี้ จำกัด จัดงานเปิดตัว "ไอ-โม" (I-MO) พาหนะสองล้อทรงตัวอัตโนมัติ ซึ่งเป็นผลงานต่อยอดโดยฝีมือคนไทย ในระหว่างการจัดงานแนะนำ 10 นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ธรรมชาติของไทย เมื่อวันที่ 6 พ.ย.51 ณ สยามพารากอน ซึ่งมีสื่อมวลชนมากมายให้ความสนใจ รวมทั้งผู้จัดการวิทยาศาสตร์ด้วย
นายสุพร จิรัญญกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอ-โมบิลิตี้ จำกัด เปิดเผยว่า ไอ-โม หรือรถสองล้อทรงตัวอัตโนมัติ เป็นผลงานที่พัฒนาต่อยอดจากแนวคิดของสิ่งประดิษฐ์ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งขณะนี้มีเพียงบริษัทเสกเวย์ (Segway) ของสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่ผลิตยานพาหนะในลักษณะนี้จำหน่ายกว้างขวางมาหลาย ปีแล้ว รวมทั้งในประเทศไทยด้วย ซึ่งนำเข้ามาในราคา 3-4 แสนบาท โดยช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามียอดขายไปแล้วหลายร้อยคัน

"รถยนต์สองล้อทรงตัวอัตโนมัติที่เราพัฒนาขึ้นใช้ หลักการเดียวกับของเสกเวย์ ซึ่งเป็นหลักการที่มีสอนอยู่แล้วในมหาวิทยาลัย แต่สิ่งที่ต่างไปจากเสกเวย์ก็คือการออกแบบรูปทรงที่มีขนาดเล็กกว่า น้ำหนักเบา ใช้งานง่าย โดยเราประกอบขึ้นเองจากภายในประเทศ ทำให้มีราคาถูกลง ประมาณคันละ 80,000 บาท ซึ่งชิ้นส่วนที่นำมาใช้ก็มีทั้งที่ผลิตขึ้นเองในประเทศ และบางอย่างก็ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ" นายสุพร กล่าว

ด้านนายพชรพล จิรัญญกุล วิศวกร อธิบายเพิ่มเติมว่า ได้ นำหลักการการควบคุมการทรงตัวแบบลูกตุ้มนาฬิกาหัวกลับ (inverted pendulum) มาใช้ เพื่อรักษาสมดุลของผู้ขับขี่ให้อยู่นิ่ง และเคลื่อนที่ไปข้างหน้าหรือข้างหลังได้โดยไม่ล้ม โดยอาศัยการโน้มตัวของผู้ขับขี่ เป็น การเลียนแบบการเดินของคนเรา เวลาที่เราจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เราก็โน้มตัวไปข้างหน้าก่อน จากนั้นก็ก้าวเท้าข้างใดข้างหนึ่งตามไป เพื่อยันตัวไว้ไม่ให้ล้ม

นายพชรพล กล่าวต่อว่า พาหนะบุคคลลักษณะนี้คิดค้นและพัฒนาขึ้นครั้งแรกในสหรัฐฯ เมื่อราว 8 ปีก่อน และมีการผลิตจำหน่ายอย่างกว้างขวาง และเมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา บริษัทแห่งหนึ่งในญี่ปุ่นก็ผลิตพาหนะบุคคลที่ใช้หลักการเดียวกันแต่มีรูปทรง แตกต่างออกไป ซึ่งไอ-โม ก็เช่นเดียวกัน โดยที่เราได้ออกแบบเองทั้งหมด ทั้งส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ กลไกการควบคุมต่างๆ รวมทั้งระบบสมองกลฝังตัวอัจฉริยะ ซึ่งเราได้ร่วมกันกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังในการ พัฒนาไอ-โม ด้วยระยะเวลาเกือบ 2 ปี โดยได้รับการสนับสนุนจาก สนช.

ไอ-โม ใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งติดตั้งอยู่บริเวณล้อทั้ง 2 ข้าง กำลังขับเคลื่อนข้างละ 500 วัตต์ สามารถเร่งความเร็วสูงสุดได้ถึง 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้พลังงานจากแบตเตอรีลิเธียมไอออน ชนิดเดียวกับที่ใช้ในคอมพิวเตอร์โน้ตบุค แต่ขนาดใหญ่กว่า และกำลังไฟมากกว่า 4 เท่า เมื่อชาร์จไฟครั้งหนึ่ง สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ประมาณ 4 ชั่วโมง
ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่มีระบบสมองกลฝังตัวอัจฉริยะในการควบคุมการทำงานของระบบขับเคลื่อน ซึ่งจะมีเซ็นเซอร์ตรวจจับตำแหน่งของผู้ขับขี่และความเร็วในการเคลื่อนที่ เพื่อทำการประมวลผล แล้วจึงส่งสัญญาสำหรับควบคุมความเร็วของมอเตอร์ เพื่อรักษาสมดุลของผู้ขับขี่ ซึ่งความเร็วในการประมวลผลราว 50 ครั้งต่อวินาที เพื่อให้แน่ใจได้ว่าผู้ขับขี่สามารถรักษาการทรงตัวอยู่ได้ตลอดเวลา

"การควบคุมการเคลื่อนที่และความเร็ว ทำได้โดยการโน้มตัว โดยโน้มตัวไปข้างหน้าเพื่อเดินหน้า หรือโน้มตัวไปด้านหลังเมื่อต้องการถอยหลัง หากต้องการให้เคลื่อนที่เร็วขึ้นก็โน้มตัวให้มากขึ้น เมื่อต้องการบังคับให้หยุด ก็โน้มตัวกลับมาที่ตำแหน่งตั้งตัวตรง และเราสามารถยืนตัวตรงเพื่อหยุดอยู่กับที่ได้โดยไม่ต้องก้าวลงจากแท่นยืน เพราะไมโครคอนโทรลเลอร์จะคอยรักษาสมดุลของผู้ขับขี่อยู่ตลอดเวลา" นายพชรพลอธิบายวิธีการขับขี่ไอ-โมเบื้องต้น

นอกจากนี้ ไอ-โมยังสามารถใช้งานในสถานที่แคบๆ ได้คล่องตัว เนื่องจากสามารถหมุนรอบตัวเองได้โดยไม่ต้องเคลื่อนที่ ซึ่งการบังคับทิศทางและการเลี้ยวทำได้โดยการโยกจอยสติ๊ค (Joystick) ด้วยปลายนิ้วเท่านั้น

นายสุพร กล่าวตอนท้ายว่า เพิ่งเปิดตัวครั้งแรกในงานนี้ โดยในปีแรกตั้งเป้าผลิตจำนวน 200 คัน โดยเน้นจำหน่ายภายในประเทศเป็นหลักเพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น การใช้งานในโรงงาน โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย ภายในหมู่บ้าน สถานที่ท่องเที่ยว ศูนย์แสดงสินค้า สนามบิน และหน่วยงานต่างๆ ซึ่งในอนาคตก็จะพัฒนาต่อยอดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

อัพเดทภาพวันงาน และข่าวที่ลงเว็บครับ


ในวันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เราได้มีการเปิดตัวพาหนะบุคคลสองล้ออัจฉริยะ "I-mo" ที่สยามพารากอน โดยการเปิดตัวครั้งนี้ได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติและคณาจารย์จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง ได้ feedback ดีมากๆครับ


วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

Visiting from Sendai University for I-mo @ KMITL







อาจารย์และนักศึกษาจาก Sendai University ประเทศญี่ปุ่นเข้าเยี่ยมชมการเรียน การสอน และ งานวิจัยของภาควิชาวิศวกรรมการวัดคุม โดยมี รศ.เกษตร์ ศิริสันติสัมฤทธิ์ รศ ไสว พงศ์สวัสดิ์ รศ ดร ทวีพล ซื่อสัตย์ และ ผศ พิทยา ปานนิล พาเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการแลกเปลี่ยนความเห็นด้านงานวิจัย เช่น ยานยนต์ขับเคลื่อนสองล้อ I-mo ซึ่งพัฒนาโดย รศ ประภาษ อุคคกิมาพันธ์ และ อาจารย์ กฤษณ์ เสมอพิทักษ์

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

invitation card



We're going to a public announcement on Thursday, November 6 at Siam Paragon
Everybody can join this announcement..
Free entry!

I-mo on youtube

New slideshow

I-mo พาหนะบุคคลอัจฉริยะ


I-mo has the slogan "SMART Mobility" which means you can move smartly on I-mo.
I-mo is the two-wheel transporter which operates on the problem of principal in control theory called "inverted pendulum" which is to control the inverted pendulum to align perpendicular to the ground at all time. You can imagine that Pendulum is like our body leaning in one direction (forward or backward) so the wheels must move towards your body to adjust the position of your body to align perpendicular to the ground. And that's the way I-mo moves.

วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

What is i-mo?

Most of you who visit this blog for the first time may wonder what does I-mo look like and what is it used for?

I'll try to explain a little bit every day to give you more understanding....